Support
Lelis Group
086-355-0761
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ตาราง 9 ช่อง ฝึกทักษะสมอง

lelisgroup@gmail.com | 19-12-2554 | เปิดดู 16471 | ความคิดเห็น 0

 ตาราง 9 ช่อง ฝึกทักษะสมอง

 

 

ม.เกษตร คิดค้น "ตารางเก้าช่อง" ฝึกทักษะสมอง

ที่มา : ข่าวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 152 ประจำวันที่ 15 ตุลาคม 2548

(เป็นข่าวเก่าไปหน่อยค่ะ  แต่น่าสนใจมากๆ )

       พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสื่อที่แสดงออกถึงการทำงานของสมองหรือระบบประสาท ซึ่งแยกออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ พฤติกรมที่อยู่เหนือการ ควบคุม ของจิตใจ เช่นอาการสะดุ้ง ตกใจ และพฤติกรรมที่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ เช่น การอ่าน เขียน ฟัง พูด ตลอดจนการเคลื่อนไหวต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ตามที่สมองเคยได้รับการฝึกหรือเรียนรู้มา ดังนั้นการกระตุ้นให้ร่างกาย ได้ปฏิบัติการเคลื่อนไหว รูปแบบใด รูปแบบหนึ่ง หรือหลากหลายรูปแบบอย่างเป็น ระบบตามลำดับขั้นตอน จะช่วยนำไปสู่การปรับตัวและการพัฒนาของสมอง

       รศ.เจริญ กระบวนรัตน์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำแนวคิดข้างต้นไปคิดค้น "ตารางเก้าช่อง" อุปกรณ์ที่ช่วยในการพัฒนาสมองของนักกีฬาและเด็ก การฝึกปฏิกิริยารับรู้และตอบสนองต่อการเคลื่อนไหว เป็นหนึ่งในหลักการพัฒนาความเร็ว ที่สำคัญสำหรับนักกีฬา ในการแข่งขันที่ต้องใช้ความรวดเร็วแม่นยำในการเคลื่อนไหว และทักษะการกีฬา ตลอดจนการคิด การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา เฉพาะหน้า

       รูปแบบของการฝึกนั้น จะเน้นการกระตุ้นการทำงานของสมองหรือระบบประสาทที่ทำหน้าที่ในการรับรู้ข้อมูล ( Sensory Neuron ) เพื่อส่งไปยังสมองส่วนกลาง ( Central Nervous System ) ซึ่งทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูล ก่อนที่ส่งไปยังเซลล์ประสาท ที่ทำหน้าที่สั่งงานและควบคุมการเคลื่อนไหวให้เป็นไปตามข้อมูลที่ส่งมา ( Motor Neuron )

        ช่วงการทำงานของระบบประสาทดังกล่าวนี้ จะโดยเน้นความถูกต้องแม่นยำและความรวดเร็วในการเคลื่อนไหวเป็นสำคัญ ดังนั้นตารางเก้าช่องจึงผุดขึ้นมาในความคิดและถูกนำมาใช้ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาปฏิกิริยาความรวดเร็วในการเคลื่อนไหวของมือและเท้าให้กับนักกีฬา รวมทั้งพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ ตลอดจนการทรงตัวในการเคลื่อนไหวร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

       รูปแบบการเคลื่อนไหวที่ถูกนำมาใช้เป็นกิจกรรมในการฝึกให้กับนักกีฬาบนตารางเก้าช่อง ซึ่งมีกว่า 100 รูปแบบ ซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวในแต่ละชนิดกีฬา จากนั้นนำมาประยุกต์เป็นรูปแบบการเคลื่อนไหว ให้นักกีฬาทำการฝึกบนตารางเก้าช่อง ซึ่งมีขนาดช่องตารางแต่ละช่องใหญ่สุดไม่เกิน 30 x 30 ซม. เล็กสุดไม่ควรต่ำกว่า 20x20 ซม. โดยสามารถปรับขนาดของช่องตารางเก้าช่อง ให้มีความเหมาะสมกับลักษณะรูปร่างของนักกีฬา และจุดประสงค์ ของการ ใช้งานหรือการฝึก

   

       ตารางเก้าช่องได้ถูกนำมาใช้ในการกระตุ้นและพัฒนาความสามารถให้กับนักกีฬาเป้นครั้งแรกที่ชมรมนักกรีฑามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2539 เพื่อต้องการพัฒนาปฏิกิริยาความเร็วของเท้า ความสัมพันธ์ การทรงตัวในแต่ละรูปแบบการเคลื่อนไหว เพื่อพัฒนาความสามารถให้กับนักกีฬา เนื่องจากเชื่อมั่นว่าเด็กและนักกีฬาไทยหากได้รับการเรียนรู้หรือการฝึกอย่างถูกต้องเป็นระบบ ด้วยกระบวนการและหลักการทางด้านวิทยาศาสตร์ จะสามารถพัฒนาการเรียนรู้และขีดความสามารถเรียนรู้และขีดความสามารถของนักกีฬาให้ก้าวไปสู่การ

ตารางเก้าช่องถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการฝึกซ้อมให้กับนักกีฬาเซปักตะกร้อทีมชายและนักฟุตบอลทีมชาติไทย ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ในปี 2541 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ และถูกนำมาใช้ในการฝึกกีฬาประเภทต่าง ๆ มากขึ้นในวงการกีฬาไทยทั้งในระดับชาติ ระดับสโมสร และสถาบันการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นนักกีฬาแบดมินตัน เทนนิส เทเบิลเทนนิส ฟุตบอล ยูโด มวย เทควันโด กรีฑาหรือแม้แต่กีฬากอล์ฟ และว่ายน้ำจนถึงปัจจุบัน

 

 

       จากวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อใช้พัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของนักกีฬา ปัจจุบันได้มีการปรับใช้กับการเรียนการสอน รวมถึงการพัฒนาสมองของเด็กเพื่อฝึกการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มากขึ้น ตารางเก้าช่องเป็นกิจกรรมหนึ่ง ที่ถูกนำมาบรรจุไว้ในหลักสูตรพิเศษ เมื่อปี 2544 เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทักษะกลไกการเคลื่อนไหว ( Psychomotor Learning ) ให้กับ คุณพุ่ม เจนเซ่น โอรสในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี

โดยได้รับความไว้วางใจจากคณะกรรมการอำนวยการโครงการพัฒนาดูแลโรคออทิซึ่ม และคณะอนุกรรมการดำเนินการฝ่ายพัฒนาด้านการศึกษาและสังคม ซึ่ง รศ.ดร. จงรักษ์ ไกรนาม และ ศ.พญ.เพ็ญแข ลิ่มศิลา ร่วมเป็นคณะกรรมการได้ให้เกียรติเชิญเข้าร่วมอยู่ในทีมงานฝ่ายพัฒนาด้านการศึกษาและระดับสังคม มีหน้าที่ในการวางแผนดำเนินการจัดทำกิจกรรมบำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพการเรียนรู้ให้แก่คุณพุ่ม เจนเซ่น ซึ่งเป็นงานที่ยากและท้าทายความสามารถเป็นอย่างยิ่ง โดยทำหน้าที่สอนและพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวให้กับคุณพุ่ม เจนเซ่น ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 13.00 – 15.00 น. จนกระทั่งเสียชีวิต เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 “ รศ.เจริญ กล่าว

 

 

ต่อมาโครงการเครือข่ายโรงเรียนสร้างเสริมสุขภาพในดวงใจ โดยคุณ โอภาส เชฏฐากุล ผู้แทนจากคณะกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับคณะครูจากโรงเรียนที่ได้รับการเลือกจากผู้ปกครองทั่วประเทศให้เป็นโรงเรียนในดวงใจ 25 โรงเรียน เข้าร่วมการอบรม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการนำตารางเก้าช่องเข้าสู่โรงเรียน เพื่อเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวออกกำลังกายสำหรับเด็กนักเรียน

รวมทั้งนำไปประยุกต์และบูรณาการในการสอนวิชาต่าง ๆ เช่น วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ซึ่งที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลย์เวศม์ได้ใช้ในการสอนกับกลุ่มสาระภาษาไทยอย่างได้ผล โดยการเคลื่อนไหวมือไปบนตารางเก้าช่องที่ทำไว้บนโต๊ะเรียนทุกตัว จนกลายเป็นโรงเรียนต้นแบบที่ได้รับความสนใจจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานการศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

 

 

นับเป็นความรู้ใหม่ที่ใช้ภูมิปัญญาไทยแท้ ในการฝึกทั้งร่างกาย จิตใจและสมอง โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์รูปแบบการเคลื่อนไหวบนตารางเก้าช่องทั้งในด้านกีฬาและการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ สำหรับนักกีฬา ครู หรือผู้ที่สนใจตารางเก้าช่อง ติดต่อได้ที่ รศ.เจริญ กระบวนรัตน์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทรศัพท์ 0-2579-5869

ภาพการแสดง ตาราง 9 ช่อง จาก ยูทูป

ตางราง 9 ช่องคืออะไร

 

http://www.youtube.com/watch?v=gKynO0P5Hhs

การฝึกตาราง9ช่อง ของหน่วยงานต่างๆ

 

http://www.youtube.com/watch?v=diC-b1SWnv8&feature=related

วิธีการเต้น ตาราง 9 ช่อง

http://www.youtube.com/watch?v=CW-nC_pd0G4&feature=related

 

ความคิดเห็น

วันที่: Fri Apr 26 17:09:09 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

ครีมทาฝ้า ครีมบำรุงผิวหน้า  Lelis ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวประสิทธิภาพสูงจากอเมริกา ด่วน! ทดลองผลิตภัณฑ์ฟรี ที่บู๊ธเลอลิสทุกสาขา ท้าพิสูจน์ได้ผลจริงใน 5 นาที ติดต่อสอบถามโทร คุณภัทรานิษฐ์ 086-355-0761,  0863204522